Skip to content

เด็กสมาธิสั้น คู่มือสำหรับครู

โรคสมาธิสั้นนั้นแท้จริงแล้วได้รับการบรรยายไว้ในวารสารทางการแพทย์อย่างเป็นทางการมากว่า 100 ปีแล้ว เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีลักษณะอยู่ไม่นิ่ง มีปัญหาในการคงสมาธิ และมักพบว่ามีปัญหาในการควบคุมตนเองและเกิดปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ให้ผู้คนรอบข้างได้ปวดศีรษะได้บ่อย ๆ ในปัจจุบันทั้งในวงการแพทย์และวงการศึกษาได้ให้ความสนใจโรคสมาธิสั้นอย่างจริงจัง ทำให้มีการศึกษาวิจัยและรวบรวมประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสมาธิสั้น จนเกิดความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาละช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นอย่างมากมาย

          คู่มือเล่มนี้การรวบรวมความรู้จากตำราและข้อมูลการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างผู้ปกครอง ครู และครูการศึกษาพิเศษ โดยรวบรวมลักษณะอาการที่พบได้บ่อย ปัญหาพฤติกรรมรวมถึงแนวทางการดูแลแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ง่ายต่อการปฏิบัติจริง คณะผู้จัดทำปรารถนาว่าคู่มือเล่มนี้น่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการช่วยคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลเด็กสมาธิสั้นต่อไป โดยเนื้อหาของคู่มือเล่มนี้ ประกอบไปด้วย

  • มาทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้น
  • ข้อสังเกตเด็กสมาธิสั้นแต่ละช่วงวัย
  • โรคนี้พบได้บ่อยแค่ไหน
  • เพราะอะไรจึงเป็นโรคสมาธิสั้น
  • ปัญหาพฤติกรรมที่พบร่วม
  • แพทย์ตรวจอย่างไรถึงบอกได้ว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
  • หลากหลายคำถามเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น
  • การช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
  • การช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นในโรงเรียน
  • ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในโรงเรียน
  • แนวทางการติดตามพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นในชั้นเรียน

เอกสารอ้างอิง:

สถาบันราชานุกูล. (2567). เด็กสมาธิสั้น คู่มือสำหรับครู. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2568, จาก  https://th.rajanukul.go.th/academic/technology-media/techer/232

เรื่องที่คุณอาจสนใจ